เรื่องควรรู้ของอิฐก่อสร้าง

อิฐ คือ หัวใจหลักของการก่อสร้าง  เป็นวัสดุที่ใช้กับงานในส่วนของผนังบ้าน รั้วบ้าน แต่อิฐนั้นมีหลากหลายประเภท แต่ละประเภทมีความแตกต่าง ข้อดี ข้อเสีย ที่ไม่เหมือนกัน แต่ละประเภทมีความเหมาะสมในการใช้งานที่แตกต่างกัน ต้องเลือกให้เหมาะกับงานแต่ละประเภท เรามาดูข้อมูลเกี่ยวกับอิฐแต่ละประเภทกันเลยดีกว่าค่ะ  

 
 
 
ประเภทที่ 1 อิฐมวลเบา หรือคอนกรีตมวลเบา 
เป็นวัสดุที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน โดยทำมาจากทราย ปูนขาว ยิปซั่ม ผงอลูมิเนียม น้ำสะอาด และสารกระจายฟองอากาศ ส่วนสำคัญ คือ ฟองอากาศเล็ก ๆ เป็นรูพรุนที่อยู่ในเนื้อวัสดุจำนวนมากประมาณ 75%  ทำให้อิฐมีน้ำหนักเบา ช่วยประหยัดโครงสร้าง ขนาดทั่วไป คือ กว้าง 20 ซม. X ยาว 60 ซม. มีหลายความหนา ขึ้นอยู่กับการใช้งาน ข้อดีของอิฐมวลเบาจะมีน้ำหนักเบา เป็นฉนวนกันความร้อน ทนไฟ แข็งแรง รับแรงกดได้มาก ไม่เหมาะกับงานเจาะแขวน แต่มีราคาสูงกว่าอิฐประเภทอื่น อิฐมวลเบาเหมาะกับงานผนังของบ้าน หรือผนังทั่วไปภายในอาคาร หรือห้องที่ต้องการความเย็น สามารถเก็บเสียงได้ดี ต้องใช้พุกเฉพาะสำหรับงานเจาะแขวน รับน้ำหนักได้ถึง 35 กก. ช่างที่ก่อสร้างต้องมีประสบการณ์ และมีฝีมือ
 
 
 
ประเภทที่ 2 อิฐบล็อก หรือคอนกรีตบล็อก 
ผลิตมาในลักษณะอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่จะมีสีเทา ทำมาจากทรายหยาบ และซีเมนต์ ขนาดทั่วไป กว้าง 19 ซม. X ยาว 39 ซม. มีหลายความหนา ขึ้นอยู่กับการใช้งาน ลดการถ่ายเทความร้อน สะดวก รวดเร็วในการก่อสร้าง เพราะอิฐมีขนาดใหญ่ และราคาถูก มีโอกาสรั่วซึมสูง รับแรงกดได้น้อยกว่า รับน้ำหนักเจาะแขวนมาก ๆ ไม่ได้ ไม่เหมาะกับงานเจาะผนัง เพื่อยึดติดอุปกรณ์ เปราะง่าย เหมาะสำหรับงานก่อผนังอาคารทั่วไป หรือก่อสร้างอาคาร โกดัง โรงงาน ประหยัดงบประมาณ และงานเสร็จเร็ว
 
 
 
ประเภทที่ 3 อิฐมอญ หรืออิฐแดง 
วัสดุก่อสร้างแบบธรรมชาติที่ใช้กันมานาน หาง่าย มีสีแดง ทำมาจากทราย ดินเหนียว ขี้เถ้าแกลบ และน้ำสะอาด โดยนำดินเหนียวมาเผา เพื่อให้วัสดุคงรูป แข็งแรง อิฐมอญคงทนต่อทุกสภาพอากาศได้ดี แข็งแรงทนทาน แต่จะสะสมความร้อน จึงทำให้ผนังบ้านร้อน ทางแก้ คือ ก่ออิฐมอญแบบ 2 ชั้น เป็นฉนวนกันเสียงได้น้อยกว่าอิฐมวลเบา ก้อนเล็ก ใช้เวลาก่อสร้างนาน จึงทำให้ค่าแรงสูง เหมาะสำหรับงานผนังภายนอก ยังนำมาใช้สำหรับเก็บรายละเอียดเล็ก ๆ เช่น งานเจาะช่องประตู หน้าต่าง หรือปิดช่องแคบ ๆ โดยไม่ต้องตัดอิฐให้เหลือเศษอีกด้วย
 
 
หลังจากทราบความแตกต่าง ข้อดี ข้อเสีย ของอิฐแต่ละประเภทกันไปแล้ว หลายคนคงจะสามารถเลือกใช้อิฐแต่ละประเภทได้เหมาะสมกับการใช้งานกันแล้วนะคะ
 
 

บทความอื่นๆ